สรุปข้อสนเทศ : WORK

27 กันยายน 2547
- สรุปข้อสนเทศ - บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (WORK) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ : 50/54-56 หมู่ 8 ถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0-2970-2970 โทรสาร 0-2970-2681 Website http://www.workpoint.co.th/ เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 29 กันยายน 2547) ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 200,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 200 ล้านบาท ราคาเสนอขาย เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปจำนวน 37,000,000 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 15 บาท เสนอขายให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทจำนวน 1,000,000 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 15 บาท เสนอขายให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทจำนวน 2,000,000 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 5 บาท ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ (Main Market) ประเภทธุรกิจและลักษณะการดำเนินงาน การประกอบธุรกิจของบริษัทฯ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ และธุรกิจสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นธุรกิจต่อเนื่องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ บริษัทฯดำเนินธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์โดยซื้อเวลาจากทางสถานีเพื่อออกอากาศรายการโทรทัศน์และขายโฆษณา โดยมีรายได้จากการขายเวลาโฆษณาและจากการโปรโมตสินค้าและบริการในรายการโทรทัศน์ โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีรายการ โทรทัศน์ที่ออกอากาศแบ่งได้ออกเป็น 5 ประเภท จำนวนทั้งสิ้น 14 รายการ ออกอากาศผ่าน 3 สถานีโทรทัศน์ ได้แก่ สถานี โทรทัศน์ช่อง 3, ช่อง 5, และช่อง 9 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 ควิซโชว์ ได้แก่ แฟนพันธุ์แท้, เกมทศกัณฐ์, และเกมทศกัณฐ์เด็ก 1.2 เกมโชว์ ได้แก่ เวทีทอง, เกมแก้จน, ชิงร้อยชิงล้าน, และเกมจารชน 1.3 ซิทคอม ได้แก่ ระเบิดเถิดเทิง, และระเบิดเถิดเทิงวันนักขัตฤกษ์ 1.4 ละครชุด ได้แก่ ละครโคกคูนตระกูลไข่, และละครชุดตีลังกาท้าฝัน 1.5 วาไรตี้ ได้แก่ ชัยบดินทร์โชว์, คุณพระช่วย, และคำพิพากษา 2. ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ของบริษัทฯ ดำเนินการโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเรื่องราว สาระและบันเทิงผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ โดยมีผลงานต่างๆมากมาย อาธิเช่น นิตยสารแก้จน, พ็อกเก็ตบุค "เกมทศกัณฐ์" และ "อร่อยเงินล้าน" เป็นต้น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -ไม่มี- สรุปสาระสำคัญของสัญญา ณ วันที่ 30 เมษายน 2547 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสัญญาเช่าอาคารสำนักงาน สตูดิโอ และที่ดิน เพื่อใช้ในการประกอบ ธุรกิจและเพื่อเป็นสถานที่เก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายทำ จำนวนทั้งสิ้น 8 สัญญา ทั้งนี้สัญญาเช่าดังกล่าวมีลักษณะอายุสัญญา ตั้งแต่ 1-2 ปี และมีสัญญาเช่าเวลาออกอากาศโทรทัศน์ จำนวนทั้งสิ้น 13 สัญญา ทั้งนี้สัญญาเช่าดังกล่าวมีลักษณะอายุสัญญา ประมาณ 1 ปี การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ -ไม่มี- การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ -ไม่มี- โครงการดำเนินงานในอนาคต โครงการสร้างสตูดิโอและสำนักงานแห่งใหม่ บริษัทฯมีโครงการสร้างสตูดิโอและสำนักงานแห่งใหม่เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและรองรับการขยายกิจการของ บริษัทฯ บนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ งบประมาณการก่อสร้างและตกแต่งภายในประมาณ 300 ล้านบาท โดยคาดว่า จะใช้ระยะเวลาการก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ประมาณ 2 ปี และจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2549 ซึ่งโครงการดังกล่าวจะทำให้ บริษัทฯสามารถรวบรวมทุกขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์ไว้ได้ในสถานที่เดียว ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นและได้ปริมาณรายการโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวจะทำให้บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่ครบวงจรและมีศักยภาพในการแข่งขันสูงยิ่งขึ้น รายการระหว่างกัน ในปี 2546 และใน 6 เดือนแรกของปี 2547 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีการทำรายการระหว่างกันอันเนื่องมาจากการดำเนิน ธุรกิจกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง สามารถสรุปมูลค่าและลักษณะของการทำรายการระหว่างกันโดยแบ่งตามประเภท ได้ดังนี้ รายการระหว่างกันในปี 2546 มีดังนี้ 1. บุคคล/นิติบุคคล : นายปัญญา นิรันดร์กุล ลักษณะความสัมพันธ์ : ผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการ ร้อยละการถือหุ้น : 46.25 (สัดส่วนการถือหุ้นก่อนการเสนอขายต่อประชาชน) ลักษณะของรายการมีดังนี้ - บริษัทฯ กู้ยืมเงินจากผู้ถือหุ้นใหญ่เพื่อรองรับการขยายธุรกิจและการลงทุน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12-15 ต่อปี โดยมีการ ชำระคืน ทั้งจำนวนแล้ว มูลค่ารายการ : 50.00 ล้านบาท - บริษัทฯซื้อหุ้นบริษัท เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง จำกัด จากผู้ถือหุ้นใหญ่ ในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ ซึ่งมีค่าความนิยม 0.62 ล้านบาท มูลค่ารายการ : 0.50 ล้านบาท - ในปี 2546 บริษัทฯว่าจ้างให้นายปัญญา นิรันดร์กุล เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ 4 รายการ ได้แก่ ชิงร้อยชิงล้าน, แฟนพันธุ์แท้, เกมแก้จน และเกมทศกัณฐ์ จากจำนวนรายการโทรทัศน์ทั้งสิ้น 10 รายการ มูลค่ารายการ : ค่าจ้างพิธีกร แสดงรวมในค่าตอบแทนผู้บริหาร 2. บุคคล/นิติบุคคล : นายประภาส ชลศรานนท์ ลักษณะความสัมพันธ์ : ผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการ ร้อยละการถือหุ้น : 46.25 (สัดส่วนการถือหุ้นก่อนการเสนอขายต่อประชาชน) ลักษณะของรายการมีดังนี้ - บริษัทฯ กู้ยืมเงินจากผู้ถือหุ้นใหญ่เพื่อรองรับการขยายธุรกิจและการลงทุน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12-15 ต่อปี โดยมี การชำระคืนทั้งจำนวนแล้ว มูลค่ารายการ : 50.00 ล้านบาท - บริษัทฯซื้อหุ้นบริษัท เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง จำกัด จากผู้ถือหุ้นใหญ่ ในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ ซึ่งมีค่าความนิยม 0.62 ล้านบาท มูลค่ารายการ : 0.50 ล้านบาท 3. บุคคล/นิติบุคคล : บริษัท บาราเกา ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ลักษณะความสัมพันธ์ : เป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่โดยญาติของคุณประภาส ชลศรานนท์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ร้อยละการถือหุ้น : -ไม่มี- ลักษณะของรายการมีดังนี้ - บริษัทฯว่าจ้างให้ บริษัทดังกล่าว ผลิตฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก รวมถึงงานบริการติดตั้งและรื้อถอนฉากที่ใช้ในการ ผลิตรายการโทรทัศน์ โดยบริษัทฯมีการว่าจ้างงานลักษณะดังกล่าวกับผู้ประกอบการหลายราย และบริษัทดังกล่าวได้มีการให้บริการ กับผู้ว่าจ้างหลายรายเช่นกัน มูลค่ารายการ : 21.61 ล้านบาท รายการระหว่างกันใน 6 เดือนแรกของปี 2547 มีดังนี้ 1. บุคคล/นิติบุคคล : นายปัญญา นิรันดร์กุล ลักษณะความสัมพันธ์ : ผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการ ร้อยละการถือหุ้น : 46.25 (สัดส่วนการถือหุ้นก่อนการเสนอขายต่อประชาชน) ลักษณะของรายการมีดังนี้ - ใน 6 เดือนแรกของปี 2547 บริษัทฯว่าจ้างให้นายปัญญา นิรันดร์กุล เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ 4 รายการ ได้แก่ ชิงร้อย ชิงล้าน, แฟนพันธุ์แท้, เกมทศกัณฐ์ และเกมทศกัณฐ์เด็ก จากจำนวนรายการโทรทัศน์ทั้งสิ้น 14 รายการ มูลค่ารายการ : ค่าจ้างพิธีกร แสดงรวมในค่าตอบแทนผู้บริหาร 2. บุคคล/นิติบุคคล : บริษัท บาราเกา ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ลักษณะความสัมพันธ์ : เป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่โดยญาติของคุณประภาส ชลศรานนท์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ร้อยละการถือหุ้น : -ไม่มี- ลักษณะของรายการมีดังนี้ - บริษัทฯว่าจ้างให้ บริษัทดังกล่าว ผลิตฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก รวมถึงงานบริการติดตั้งและรื้อถอนฉากที่ใช้ใน การผลิตรายการโทรทัศน์ โดยบริษัทฯมีการว่าจ้างงานลักษณะดังกล่าวกับผู้ประกอบการหลายราย และบริษัทดังกล่าวได้มีการให้ บริการกับผู้ว่าจ้างหลายรายเช่นกัน มูลค่ารายการ : 6.79 ล้านบาท ความจำเป็นและความเหมาะสมของรายการระหว่างกัน คณะกรรมการบริษัทฯและคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณารายการดังกล่าวข้างต้นแล้วมีความเห็นดังนี้ 1. รายการการกู้ยืมจากกรรมการ รายการกู้ยืมดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ ซึ่งในขณะนั้นบริษัทฯมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และ ได้มีการชำระคืนทั้งจำนวนแล้ว ทั้งนี้ บริษัทฯคาดว่าจะไม่มีรายการกู้ยืมเงินจากกรรมการอีกในอนาคต 2. รายการที่บริษัทฯซื้อหุ้นบริษัท เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง จำกัด จากผู้ถือหุ้นใหญ่ รายการดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ ซึ่งนอกจากจะเป็นการปรับโครงสร้างกลุ่มให้มีความชัดเจน โปร่งใส และป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ยังเป็นการขยายการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของบริษัทฯ และ การซื้อที่ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้มีความเหมาะสม เนื่องจากบริษัทดังกล่าวอยู่ในระยะเริ่มดำเนินการและยังไม่มีผลการดำเนินงานที่มี นัยสำคัญ 3. รายการที่บริษัทฯว่าจ้างให้นายปัญญา นิรันดร์กุล เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ 4 รายการ รายการดังกล่าวเป็นไปตามปกติธุรกิจและเพื่อประโยขน์ของบริษัทฯ เนื่องจากนายปัญญา นิรันดร์กุล เป็นผู้ที่มีความสามารถ และทำให้รายการของบริษัทได้รับความนิยม โดยทุกรายการที่นายปัญญาเป็นพิธีกรมีผลการดำเนินงานที่น่าพอใจ และการกำหนด อัตราค่าจ้างมีความเหมาะสมและเป็นไปตามอัตราตลาด โดยมีกระบวนการพิจารณาอนุมัติโดยคณะกรรมการบริหารตามหลักเกณฑ์ เดียวกันกับที่ใช้พิจารณาอนุมัติการว่าจ้างพิธีกรและกำหนดอัตราค่าจ้างของพิธีกรทุกคนของบริษัทฯ 4. รายการที่บริษัทฯว่าจ้างให้ บริษัทบาราเกา ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ผลิตฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากรายการดังกล่าวเป็นไป ตามปกติธุรกิจและเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ โดยบริษัทฯมีการว่าจ้างผู้รับจ้างเพื่อผลิตฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากจาก ผู้รับจ้างหลายราย และมีกระบวนการคัดเลือกผู้รับจ้างจากคุณภาพงานและการจัดประมูลราคา เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพในราคา ยุติธรรม ภาระผูกพัน ตามหมายเหตุประกอบงบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2547 1) ภาระหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจาก การให้ธนาคารค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 13.25 ล้านบาท ค้ำประกันโดยเงินฝากประจำ ของบริษัทฯ (เป็นภาระค้ำประกันในการเช่าเวลาสถานี) 2) บริษัทฯ มีภาระผูกพันเนื่องจากทำสัญญาจ้างเหมาถมดิน เป็นจำนวนเงิน 4.81 ล้านบาท (สำหรับโครงการสร้างสตูดิโอ แห่งใหม่) ปัจจัยเสี่ยง 1. การต่อสัญญากับสถานีโทรทัศน์หรือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญา บริษัทฯเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ โดยเช่าเวลาจากสถานีโทรทัศน์เพื่อออกอากาศรายการ ซึ่งเป็นปกติธุรกิจที่การทำสัญญา เช่าเวลาระหว่างสถานีโทรทัศน์และผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จะมีระยะเวลาการทำสัญญา 6 เดือนถึง 1 ปี และต่อสัญญาเมื่อสิ้นสุดระยะ เวลาตามสัญญา ซึ่งหากสถานีโทรทัศน์ไม่ให้บริษัทฯต่อสัญญาเช่าเวลาในรายการใด อาจทำให้บริษัทฯมีความเสี่ยงที่จะต้องสรรหา สถานีเพื่อออกอากาศใหม่ ซึ่งอาจกระทบต่อความต่อเนื่องของการออกอากาศของรายการโทรทัศน์และรายได้ของบริษัทฯ นอกจากนี้ ยังรวมถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญา อย่างไรก็ตาม การพิจารณาให้เช่าเวลาหรือต่อสัญญาเช่าเวลาของแต่ละสถานีจะมีหลักเกณฑ์ใหญ่ๆในการพิจารณา คือ รูปแบบรายการ ความนิยมของรายการ และความสามารถในการชำระค่าเช่าเวลา ซึ่งบริษัทฯได้มีการพัฒนารายการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รายการของบริษัทฯได้รับความนิยมโดยตลอด การรักษาเครดิตในเรื่องการชำระเงินค่าเช่าเวลาและปฏิบัติตามเงื่อนไขการเช่า เวลาอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสถานีโทรทัศน์ 2. การที่รายการโทรทัศน์เสื่อมความนิยม หรือกระแสความนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง รายได้จากการผลิตรายการโทรทัศน์มีแนวโน้มที่จะแปรผันตามระดับความนิยมของแต่ละรายการ เนื่องจากการตัดสินใจ เลือกลงโฆษณาหรือโปรโมตสินค้าหรือบริการกับรายการโทรทัศน์ใด บริษัทตัวแทนโฆษณา (Agency) และเจ้าของสินค้าหรือ บริการส่วนมากจะพิจารณาความคุ้มค่าของการใช้งบโฆษณาจากอัตราค่าใช้จ่ายโฆษณาต่อจำนวนผู้ชมรายการ และ/หรือพิจารณา จากระดับความนิยมของแต่ละรายการ ในขณะที่การผลิตรายการโทรทัศน์แต่ละรายการมีต้นทุนคงที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น หาก รายการโทรทัศน์ของบริษัทฯไม่เป็นที่นิยมหรือเสื่อมความนิยมลง อาจส่งผลกระทบต่อรายได้และผลประกอบการของบริษัทฯได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯสามารถลดความเสี่ยงดังกล่าวจากการมีรายการโทรทัศน์หลายรายการ ซึ่งแต่ละรายการที่บริษัทฯ สร้างสรรค์มีรูปแบบและการนำเสนอที่แปลกใหม่และมีความหลากหลาย นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีกระบวนการพิจารณากลั่นกรอง ก่อนการตัดสินใจผลิตแต่ละรายการโทรทัศน์แต่ละเทปที่ออกอากาศ และการตรวจสอบคุณภาพก่อนออกอากาศ ตลอดจนมีการ ติดตามประเมินผลระดับความนิยมและกระแสตอบรับของแต่ละรายการของบริษัทฯและคู่แข่งขันอย่างสม่ำเสมอ 3. การพึ่งพิงตัวพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการ และบุคลากรฝ่ายผลิต บุคลากรฝ่ายผลิตและทีมสร้างสรรค์นับเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของบริษัทฯ นอกจากนี้รายการส่วนใหญ่ของ บริษัทฯ เป็นประเภทควิซโชว์หรือเกมโชว์ ซึ่งการมีพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการที่มีความสามารถเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีผลต่อความสำเร็จของรายการ และเป็นจุดแข็งที่เสริมสร้างศักยภาพในแข่งขันให้กับรายการโทรทัศน์ของบริษัทฯเรื่อยมา ซึ่งหากบริษัทฯ สูญเสียบุคลากรหลักในฝ่ายผลิตและผู้ดำเนินรายการดังกล่าวไปอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลงานและ ผลประกอบการของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น บริษัทฯจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร อย่างต่อเนื่องและส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม และมีการการออกแบบรายการโดยให้ความสำคัญกับรูปแบบรายการและ รูปแบบการนำเสนอมากกว่าการผูกติดกับพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการคนใดคนหนึ่ง นอกจากนี้ ยังได้มีการกระจายงานไปสู่พิธีกร หรือผู้ดำเนินรายการที่หลากหลายมากขึ้น พร้อมทั้งสร้างพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการใหม่ๆขึ้นมาเสริมรายการอยู่เสมอ 4. การขยายตัวของสื่อโฆษณาอื่นและสื่อโฆษณาใหม่ รายได้จากการผลิตรายการโทรทัศน์ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขยายตัวของการอุตสาหกรรมโฆษณาผ่านสื่อ โทรทัศน์ ซึ่งจากการที่มีสื่อโฆษณาใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการขยายตัวของธุรกิจสื่อประเภทอื่นที่ไม่ใช่โทรทัศน์ ส่งผลให้ บริษัทตัวแทนโฆษณา (Agency) และเจ้าของสินค้าหรือบริการ มีโอกาสเลือกลงโฆษณาผ่านสื่อหลากหลายประเภทมากขึ้น และทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ถูกแบ่งไปยังสื่อประเภทอื่นบ้าง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด เมื่อเทียบกับสื่อประเภทอื่น โดยระหว่างปี 2543 ถึง ปี 2546 มีส่วนแบ่งการตลาดเฉลี่ยประมาณร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดรวม ทั้งนี้ นอกจาก บริษัทฯมีแผนขยายธุรกิจไปยังสื่อประเภทอื่นเพิ่มเติม โดยเริ่มต้นเมื่อเดือนธันวาคม 2546 บริษัทฯขยายธุรกิจไป ยังสื่อสิ่งพิมพ์โดยการลงทุนในบริษัท เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง จำกัด เพื่อเพิ่มรายได้และลดความเสี่ยงทางธุรกิจลง กรณีพิพาท -ไม่มี- จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2547 มีพนักงานจำนวน 200 คน ประวัติความเป็นมาโดยสรุป - บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2532 โดย นายปัญญา นิรันดร์กุล และนายประภาส ชลศรานนท์ เพื่อดำเนินการสร้างสรรค์ผลงานบันเทิงทางโทรทัศน์และสื่อต่างๆ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 2 ล้านบาท - บริษัทฯมีการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพและให้ทั้งจำนวนหลายรายการในระยะเวลากว่า 15 ปี โดยรายการ โทรทัศน์รายการแรกของบริษัทฯคือ เวทีทอง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงและนับเป็นก้าวแรกของบริษัทฯในธุรกิจผลิตรายการ โทรทัศน์ จากนั้น บริษัทฯได้ผลิตรายการโทรทัศน์ต่างๆมากมาย ผลงานที่ผ่านมาของบริษัทฯ ได้แก่ คู่ทรหด, ละครแห่งชีวิต, กามเทพผิดคิว, บ้านแห่งความรัก, ชมรมขนหัวลุก, 7-7-49, แฟนตาซีมีหาง, ใครผิดยกมือขึ้น, ศุกร์กันเถอะเรา, และเถ้าแก่ใหญ่ เป็นต้น โดยปัจจุบัน บริษัทฯมีรายการโทรทัศน์ออกอากาศจำนวน 14 รายการ นำเสนอในหลากหลายรูปแบบ อาทิ ควิซโชว์ เกมโชว์ ซิทคอม ละคร และวาไรตี้ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, ช่อง 5 และช่อง 9 ได้แก่ รายการเวทีทอง, ชิงร้อย ชิงล้าน, ระเบิดเถิดเทิง, ระเบิดเถิดเทิงวันนักขัตฤกษ์, เกมแก้จน, เกมจารชน, แฟนพันธุ์แท้, เกมทศกัณฐ์, ละครโคกคูนตระกูลไข่, ชัยบดินทร์โชว์, เกมทศกัณฐ์เด็ก, ละครตีลังกาท้าฝัน, คุณพระช่วย, และคำพิพากษา - บริษัทฯมีนโยบายมุ่งเน้นการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ขึ้นเองเพื่อเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ และจากผลงาน คุณภาพที่มีลักษณะเฉพาะตัวและมีความหลากหลาย ทำให้บริษัทฯได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ระดับแนวหน้า ของประเทศไทย โดยเฉพาะ ผลงานในด้านรายการเกมโชว์และควิซโชว์ ส่งผลให้บริษัทฯได้รับสมญานามว่า "คิง ออฟ เกมโชว์" รางวัลต่างๆที่บริษัทฯได้รับ ได้แก่ รางวัลเมขลา, โทรทัศน์ทองคำ, รางวัลจากสำนักคณะกรรมการเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) รวมทั้งโหวตจากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ อาทิ รางวัลทอปอวอร์ด จากนิตยสารทีวีพูล, โหวตอวอร์ด จากรายการวิทยุ, STAR ENTERTAINMENT AWARDS จากสมาคมนักข่าวบันเทิง เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น บริษัทฯได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยด้วย การได้รับรางวัลระดับเอเชีย คือ เอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ด ในปี 2542, ปี 2543, ปี 2544, ปี 2545 และล่าสุดในปี 2546 บริษัทฯ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จากรายการเกมทศกัณฐ์ และได้รับรางวัลชนะเลิศ จากรายการแฟนพันธุ์แท้ ประเภท รายการเกมโชว์หรือควิซโปรแกรม - ในเดือนธันวาคม 2546 บริษัทฯได้มีการขยายธุรกิจไปยังธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยการลงทุน 100% ในบริษัท เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง จำกัด เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลุ่มบริษัทฯให้ครอบคลุมสื่อด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น และเป็นการสร้างรายได้ โดยใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ จากรายการโทรทัศน์ชื่อ "เกมแก้จน" โดยการผลิตผลงานชิ้นแรก คือ นิตยสารรายเดือนชื่อ "แก้จน" เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2547 ปรากฏดังนี้ หน่วย: ล้านบาท ประเภทกิจการ มูลค่าเงินลงทุน ชื่อบริษัท และลักษณะธุรกิจ ทุนชำระแล้ว ร้อยละของหุ้นที่ถือ (ตามราคาทุน) 1. บริษัท เวิอร์พอยท์ ผลิตและจำหน่ายนิตยสารและพ็อกเกตบุ๊ค 4.0 99.99 4.0 พับลิชชิ่ง จำกัด การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา หน่วย: ล้านบาท วัน/เดือน/ปี ทุนที่ (ลด) เพิ่ม หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน 25 ธันวาคม 2546 158 160 เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ 26 กุมภาพันธ์ 2547 40 200 โครงการสร้างสตูดิโอและสำนักงานแห่งใหม่ และการรองรับการขยายตัวของธุรกิจ รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ผู้สอบบัญชี นางเกษรี ณรงค์เดช ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 76 สำนักงานสอบบัญชี เอ.เอ็ม.ที. แอสโซซิเอท นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด (มหาชน) นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ในกรณีที่บริษัทฯไม่มีความจำเป็นอื่นใดในการใช้เงินจำนวนนั้น และการจ่ายเงินปันผลนั้นจะต้องไม่มีผลกระทบต่อการ ดำเนินงานปกติของบริษัทฯอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของบริษัทย่อย นโยบายจ่ายเงินปันผลขึ้นอยู่กับผลประกอบการและ ความจำเป็นในการใช้เงินทุนของบริษัทย่อย บัตรส่งเสริมการลงทุน -ไม่มี- จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ 2547 ปรากฏดังนี้ จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว 1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders 1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ - - - 1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องและ 15 150,615,000 75.31 บุคคลที่มีความสัมพันธ์ 1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย - - - 1.4 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด - - - 2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 3,822 49,385,000 24.69 3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย - - - รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 3,837 200,000,000 100.00 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ 2547 ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว 1. ตระกูล ชลศรานนท์ 75,050,000 37.53 2. ตระกูล นิรันดร์กุล 74,740,000 37.37 รวม 149,790,000 74.90 ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547 บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 22 ราย ถือหุ้นรวมกัน 73,300 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว หมายเหตุ บริษัทมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าวตามข้อบังคับของบริษัทข้อ 9 ว่า "หุ้นของบริษัทสามารถ โอนกันได้โดยเสรีโดยไม่มีข้อจำกัด ยกเว้นเมื่อปรากฏว่า การโอนหุ้นรายใดที่มีผลหรือจะมีผลทำให้คนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ใน บริษัทเกินกว่าร้อยละยี่สิบ (20) ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท" คณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทฯจำนวน 9 ท่าน ประกอบด้วย ชื่อ- สกุล ตำแหน่ง วันที่ดำรงตำแหน่ง 1. นายปัญญา นิรันดร์กุล ประธานกรรมการ 27 มกราคม 2547 2. นายประภาส ชลศรานนท์ รองประธานกรรมการ 27 มกราคม 2547 3. นายนุวัทฐ จั่นบำรุง กรรมการ 27 มกราคม 2547 4. นางพาณิชย์ สดสี กรรมการ 27 มกราคม 2547 5. นางสาวมาลี ปานพชร กรรมการ 27 มกราคม 2547 6. นางเบญจมาศ จันปุ่ม กรรมการ 27 มกราคม 2547 7. นายคณิต วัฒนประดิษฐ์ กรรมการ 27 มกราคม 2547 8. พันตำรวจเอกปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ กรรมการ 27 มกราคม 2547 9. นายปานสิงห์ ขมะสุนทร กรรมการ 27 มกราคม 2547 คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ จำนวน 3 ท่านประกอบด้วย ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ รายนามคณะกรรมการตรวจสอบ 1. ประธานกรรมการตรวจสอบ นายคณิต วัฒนประดิษฐ์ 2. กรรมการตรวจสอบ พันตำรวจเอกปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ 3. กรรมการตรวจสอบ นายปานสิงห์ ขมะสุนทร (ยังมีต่อ)